ไลฟ์โค้ช vs นักจิตบำบัด

นักจิตบำบัด vs ไลฟ์โค้ช ต่างกันอย่างไร นักจิตบำบัด และ ไลฟ์โค้ช มีบทบาทสำคัญในการช่วยเหลือผู้คนในยุคปัจจุบัน ซึ่งหลายคนให้ความสำคัญกับสุขภาพจิตและการพัฒนาตนเองมากขึ้น เนื่องจากสภาพสังคมที่เต็มไปด้วยความเครียดและแรงกดดัน ไม่ว่าจะมาจากการทำงาน ชีวิตส่วนตัว หรือการเปลี่ยนแปลงในสังคมที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้หลายคนเริ่มมองหาวิธีการรับมือกับปัญหาและพัฒนาตนเอง การขอความช่วยเหลือจากผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจิตจึงกลายเป็นทางเลือกที่น่าสนใจ ไม่เพียงแค่ช่วยรับมือกับความเครียด แต่ยังช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิต อย่างไรก็ตาม หลายคนอาจสับสนระหว่างการเลือกนักจิตบำบัดหรือไลฟ์โค้ช เพราะทั้งสองอาชีพมีวิธีการและจุดมุ่งหมายที่แตกต่างกัน บทความนี้จะอธิบายถึงความแตกต่างระหว่างสองอาชีพนี้ ทั้งในด้านการทำงาน แนวทางการให้คำปรึกษา และผลลัพธ์ เพื่อช่วยให้คุณเลือกบริการที่เหมาะสมกับความต้องการของคุณมากที่สุด Table of Contents นักจิตบำบัดคืออะไร? นักจิตบำบัด (Therapist/Counsellor) คือ ผู้ที่ผ่านการศึกษาเฉพาะทางในด้าน จิตวิทยา และได้รับการรับรองจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น คณะกรรมการวิชาชีพทางจิตวิทยา หรือ จบการศึกษาเฉพาะทางด้านจิตวิทยา นักจิตบำบัดจะมีการศึกษาเกี่ยวกับ การทำงานของจิตใจ และ พฤติกรรมมนุษย์ ซึ่งทำให้พวกเขาสามารถเข้าใจและประเมิน สภาพจิตใจ ของผู้ที่มาขอรับคำปรึกษาได้อย่างแม่นยำ หน้าที่ของนักจิตบำบัดไม่เพียงแต่เป็นผู้ฟังที่ดีเท่านั้น แต่ยังเป็นผู้ที่สามารถวิเคราะห์ถึงต้นเหตุของ ปัญหาทางจิตใจ หรือ ปัญหาทางอารมณ์ ที่ผู้รับบริการกำลังเผชิญ โดยเน้นไปที่การจัดการกับ ความเครียด ความวิตกกังวล […]

การหย่าในประเทศไทย

การหย่าในประเทศไทย ไม่ว่าคู่สมรสของคุณจะเป็นคนไทยเหมือนกัน คนไทยกับคนต่างชาติ หรือแม้กระทั่งเป็นคนต่างชาติด้วยกันทั้งคู่ นี่คือข้อมูลสำหรับผู้ที่ต้องการ จดทะเบียนหย่าในประเทศไทย พร้อมทางเลือกอื่นก่อนตัดสินใจหย่า เช่น การแยกกันอยู่ การขอคำปรึกษาปัญหาชีวิตคู่ที่อาจทำให้คุณเข้าใจปัญหาได้ดีขึ้นจนอาจไม่ต้องลงเอยด้วย การหย่า คำเตือน : บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ในการทำความเข้าใจกระบวนการ จดทะเบียนหย่า และข้อกฎหมายเกี่ยวกับ การหย่า ในประเทศไทยเท่านั้น เราไม่ใช่ที่ปรึกษาทางกฎหมาย และข้อมูลที่ใช้ก็เป็นการศึกษาค้นคว้าจากแหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ แต่มิใช่ข้อมูลที่ใช้ประกอบการตัดสินใจทางกฎหมาย หากคุณต้องการคำปรึกษาทางกฎหมายและขอความช่วยเหลือ ควรติดต่อสำนักงานกฎหมาย สถานทูตหรือสถานกงสุลของคุณโดยตรง Table of Contents ทำความเข้าใจกฏหมายการหย่าในประเทศไทย ตามข้อมูลของสำนักบริหารการทะเบียน กรมการปกครองแห่งประเทศไทย ในปี 2565 คู่สมรสที่ตัดสินใจจดทะเบียนสมรสกันทั้งหมด 305,487 คู่ และมีคู่ที่ตัดสินใจจดทะเบียนหย่าจำนวน 146,159 คู่ ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 47.6 ของคู่สมรส หรืออาจกล่าวได้ว่าปี 2565 มีคู่สมรสที่ตัดสินใจหย่าร้างคิดเป็น 400 คู่ต่อวัน ! การจดทะเบียนหย่าตามกฎหมายไทยอยู่ภายใต้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ซึ่งระบุว่า การสิ้นสุดแห่งการสมรสมี 3 กรณี ได้แก่ ความตาย การหย่าร้าง หรือคำสั่งศาล […]