การหย่าในประเทศไทย ไม่ว่าคู่สมรสของคุณจะเป็นคนไทยเหมือนกัน คนไทยกับคนต่างชาติ หรือแม้กระทั่งเป็นคนต่างชาติด้วยกันทั้งคู่ นี่คือข้อมูลสำหรับผู้ที่ต้องการ จดทะเบียนหย่าในประเทศไทย พร้อมทางเลือกอื่นก่อนตัดสินใจหย่า เช่น การแยกกันอยู่ การขอคำปรึกษาปัญหาชีวิตคู่ที่อาจทำให้คุณเข้าใจปัญหาได้ดีขึ้นจนอาจไม่ต้องลงเอยด้วย การหย่า

คำเตือน : บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ในการทำความเข้าใจกระบวนการ จดทะเบียนหย่า และข้อกฎหมายเกี่ยวกับ การหย่า ในประเทศไทยเท่านั้น เราไม่ใช่ที่ปรึกษาทางกฎหมาย และข้อมูลที่ใช้ก็เป็นการศึกษาค้นคว้าจากแหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ แต่มิใช่ข้อมูลที่ใช้ประกอบการตัดสินใจทางกฎหมาย หากคุณต้องการคำปรึกษาทางกฎหมายและขอความช่วยเหลือ ควรติดต่อสำนักงานกฎหมาย สถานทูตหรือสถานกงสุลของคุณโดยตรง

Table of Contents

ทำความเข้าใจกฏหมายการหย่าในประเทศไทย

ตามข้อมูลของสำนักบริหารการทะเบียน กรมการปกครองแห่งประเทศไทย ในปี 2565 คู่สมรสที่ตัดสินใจจดทะเบียนสมรสกันทั้งหมด 305,487 คู่ และมีคู่ที่ตัดสินใจจดทะเบียนหย่าจำนวน 146,159 คู่ ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 47.6 ของคู่สมรส หรืออาจกล่าวได้ว่าปี 2565 มีคู่สมรสที่ตัดสินใจหย่าร้างคิดเป็น 400 คู่ต่อวัน !

การจดทะเบียนหย่าตามกฎหมายไทยอยู่ภายใต้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ซึ่งระบุว่า การสิ้นสุดแห่งการสมรสมี 3 กรณี ได้แก่ ความตาย การหย่าร้าง หรือคำสั่งศาล ซึ่งตามปกติแล้วทุกคนที่ต้องการจดทะเบียนหย่าสามารถดำเนินการได้ที่อำเภอโดยไม่มีค่าใช้จ่าย

การหย่ามี 2 แบบ

1.การหย่า โดยความยินยอมของทั้งสองฝ่าย

การหย่า โดยความยินยอมของทั้งสองฝ่ายคือ คู่สมรสทั้งสองคนตกลงที่จะหย่ากันเองได้ โดย การหย่า ด้วยความยินยอมตามกฎหมายบังคับว่า ต้องทำเป็นหนังสือและมีพยานลงลายเซ็นอย่างน้อย 2 คน และต้องไป จดทะเบียนหย่าต่อนายทะเบียนที่อำเภอ ไม่อย่างนั้นจะถือว่า การหย่า ไม่สมบูรณ์ คู่สมรสที่ต้องการหย่า โดยความยินยอมของทั้งสองฝ่าย สามารถทำการจดทะเบียนหย่า ได้ 2 วิธี :

  • การหย่า ที่สำนักงานทะเบียนเดียวกัน : ให้คู่สมรสที่ต้องการ จดทะเบียนหย่าเดินทางไปที่อำเภอเดียวกันเพื่อจดทะเบียนหย่า

  • การหย่าต่างสำนักทะเบียน : สำหรับคู่สมรสที่อยู่คนละที่กัน หรือคนละประเทศกัน ทั้งคู่ไม่สามารถที่จะเดินทางไป จดทะเบียนหย่าได้ที่สำนักทะเบียนเดียวกัน ซึ่งคู่สมรสจะต้องตัดสินใจว่าฝ่ายใดจะเป็นคนที่เริ่มทำเรื่อง จดทะเบียนหย่าที่สำนักงานทะเบียนก่อน

2. การหย่า โดยคำพิพากษาของศาล

การหย่า โดยคำพิพากษาของศาลหมายถึง คู่สมรสทั้งสองไม่สามารถตกลงที่จะ หย่า กันเองได้ จึงต้องพึ่งกระบวนการศาลในการตัดสินให้หย่าขาดกัน โดยคู่สมรสฝ่ายหนึ่งจะต้องทำการฟ้องหย่า อีกฝ่าย เพื่อให้ศาลพิจารณา โดยการฟ้องหย่า จะต้องเป็นไปตามเหตุแห่ง การฟ้องหย่า ตามกฎหมายมาตรา 1516 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เท่านั้น เหตุอื่น ๆ นอกเหนือจากนี้จะไม่สามารถนำมาฟ้อง หย่าได้

ใครบ้างที่สามารถจดทะเบียนหย่าในประเทศไทยได้?

  1. คนไทยด้วยกันเอง
  2. คนไทย-คนต่างชาติ
  3. คนต่างชาติทั้งคู่ (อย่างน้อยคู่สมรสฝ่ายหนึ่งจะต้องเป็นผู้พำนักถาวรในประเทศไทย และต้องทำ การหย่า ผ่านกระบวนการของศาลไทย)

คู่สมรสที่เป็นชาวต่างชาติที่แต่งงานในประเทศไทย หรือนอกประเทศไทยจะทำการจดทะเบียนหย่า ผ่านกระบวนการของศาลไทยเท่านั้น ศาลจะพิจารณาคู่สมรสชาวต่างชาติที่ไม่ได้ทำการจดทะเบียนสมรส ในประเทศไทยในกรณีที่คู่สมรสอย่างน้อย 1 คน ทำงานอยู่ในประเทศไทยเป็นเวลานาน และมีใบอนุญาตทำงานที่ถูกต้อง หรือฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเป็นผู้พำนักถาวรในประเทศไทยเท่านั้น แต่ถ้าหากคู่สมรสที่เป็นชาวต่างชาติเป็นผู้พำนักถาวรในประเทศไทยทั้งคู่ คุณก็มีสิทธิ์ที่จะจดทะเบียนหย่า ในประเทศไทยได้

ก่อนหย่า

สิ่งสำคัญก่อนที่คุณและคู่สมรสจะทำการจดทะเบียนหย่า ในประเทศไทย คุณต้องการเลือกว่าต้องการจดทะเบียนหย่า แบบไหน ซึ่งการหย่า โดยความยินยอมทั้งสองฝ่ายจะค่อนข้างดำเนินการง่าย ต่างจากการหย่า โดยคำพิพากษาของศาลที่จะยุ่งยากและใช้เวลานานกว่า ในขณะเดียวกันคุณกับคู่สมรสของคุณต้องหารืออีกด้วยว่า จะไป จดทะเบียนหย่าที่ไหน หากจดทะเบียนหย่า ที่สำนักทะเบียนเดียวกันก็จะสะดวกมากกว่าการ จดทะเบียนหย่าต่างที่กัน เนื่องจากต้องทำผ่านสถานทูต ซึ่งจะใช้เวลาในการดำเนินการนาน และต้องเตรียม เอกสารการหย่ามากกว่า นั่นหมายถึงความเครียดที่มากขึ้นตามมาด้วย

การจดทะเบียนหย่าในประเทศไทย

ขั้นตอนการหย่าในประเทศไทย

1.การจดทะเบียนหย่า โดยยินยอมทั้งสองฝ่าย

จากข้อมูลของกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย หากคู่สมรสต้องการที่จะจดทะเบียนหย่าทั้งคู่สามารถเดินทางไปที่อำเภอไหนก็ได้แล้วแต่สะดวก โดยไม่จำเป็นต้องไปทำที่อำเภอตามภูมิลำเนา ในกรณีที่ต้องการจะหย่าต่างสำนักทะเบียน ให้ติดต่อสถานทูต สถานกงสุลที่เกี่ยวข้องเพื่อดำเนินการ ปกติแล้วการหย่า โดยยินยอมทั้งสองฝ่ายจะใช้เวลาเพียงแค่ 2 ชั่วโมง ในขณะที่การหย่าต่างสำนัก อาจใช้เวลาประมาณ 3-6 เดือน เนื่องจากแต่ละสำนักทะเบียนจะใช้เวลาในการดำเนินการต่างกัน

เอกสารที่ต้องใช้ในการจดทะเบียนหย่า โดยความยินยอมทั้งสองฝ่าย :

  • บัตรประชาชน / passport / ใบขับขี่
  • ทะเบียนสมรส (คร. 3)
  • ข้อตกลงการหย่าร้าง
  • แบบคำร้องขอจดทะเบียนหย่าร้าง (เอกสารที่สถานทูตต้องการ)
  • แบบคำร้องขอรับรอง (เอกสารที่สถานทูตต้องการ)
  • สำเนาทะเบียนบ้าน (สำหรับคนไทย)
  • คำสั่งศาลและหนังสือรับรองคดีสิ้นสุด (สำหรับ การหย่าโดยคำพิพากษาของศาล)
  • พยานอย่างน้อย 2 คนที่มีอายุมากกว่า 20 ปี


ขั้นตอนการจดทะเบียนหย่า โดยยินยอมของทั้งสองฝ่าย :

1.1 การจดทะเบียนหย่า โดยความยินยอมของทั้งสองฝ่ายที่สำนักทะเบียนเดียวกัน

  • คู่สมรสต้องเดินทางมาที่สำนักงานทะเบียนเดียวกัน เพื่อจดทะเบียนหย่าพร้อมกัน
  • เจ้าหน้าที่อำเภอจะตรวจสอบเอกสารการหย่า ที่จำเป็นและบันทึกรายละเอียดในทะเบียนหย่าร้าง (คร. 6)
  • คู่สมรสลงนามในใบสำคัญการหย่า
  • เจ้าหน้าที่อำเภอออกใบสำคัญการหย่า (คร. 7) ให้คู่สมรส

     

1.2 การจดทะเบียนหย่า โดยความยินยอมของทั้งสองฝ่ายต่างสำนักทะเบียน

คำแนะนำ: คู่สมรสจะต้องตกลงกันก่อนว่า ฝ่ายใดจะเป็นฝ่ายทำการยื่นขอจดทะเบียนหย่าก่อน (ซึ่งจะเรียกว่า สำนักทะเบียนที่ 1) และจะยื่นจดทะเบียนหย่าที่สำนักทะเบียนใด

  • คู่สมรสที่ต้องหย่าต่างสำนักจะต้องส่งเอกสารที่เกี่ยวข้องไปที่สำนักทะเบียนที่คู่สมรสฝ่ายที่เริ่มดำเนินการจดทะเบียนหย่าตั้งอยู่
  • สำนักทะเบียนที่ดำเนินการเริ่มต้นจะส่งเอกสารไปที่สำนักทะเบียนของอีกฝ่าย
  • คู่สมรสอีกฝ่ายลงนามในใบสำคัญการหย่า
  • สำนักทะเบียนทั้งสองที่ต้องส่งเอกสารการหย่า ไปกลับให้กันเพื่อยืนยันว่าการหย่าร้าง เสร็จสิ้นเรียบร้อยแล้ว
  • สำนักทะเบียนของคู่สมรสที่เริ่มต้นการหย่า ออกใบสำคัญการหย่า (คร. 7) ให้คู่สมรส

สำนักทะเบียนที่ 1

  • คู่สมรสฝ่ายที่ต้องขอจดทะเบียนหย่าก่อนเดินทางไปที่อำเภอ สถานทูตหรือสถานกงศุลเพื่อแจ้งเจ้าหน้าที่ขอจดทะเบียนหย่า ซึ่งจะเรียกว่าสำนักทะเบียนที่ 1 เมื่อคำร้องขอจดทะเบียนหย่าถูกบันทึกโดยเจ้าหน้าที่และตรวจสอบความเรียบร้อยของเอกสาร เจ้าหน้าที่จะออกใบทะเบียนหย่า (คร. 6) ให้
  • คู่สมรสฝ่ายที่ 1 และพยานลงลายเซ็นในใบทะเบียนหย่าร้าง (คร. 6) และแจ้งต่อเจ้าหน้าที่ว่าสำนักทะเบียนของคู่สมรสอีกฝ่ายคือที่ใด (เรียกว่าสำนักงานทะเบียนที่ 2)
  • นายอำเภอจะตรวจสอบและลงลายเซ็นในใบทะเบียนหย่าร้าง (คร. 6) และทำงานส่งเอกสารทั้งหมดและที่เกี่ยวข้องไปที่นักงานทะเบียนที่ 2 เพื่อพิจารณาและเรียกให้คู่สมรสอีกฝ่ายเข้ามาทำการจดทะเบียนหย่า


สำนักทะเบียนที่ 2

  •  เมื่อนายอำเภอของสำนักทะเบียนที่ 2 ได้รับเอกสารจากสำนักทะเบียนที่ 1 แล้ว จะทำการแจ้งให้คู่สมรสฝ่ายที่ 2 เข้ามาตรวจสอบที่สำนักทะเบียน
  • หากเอกสารต่าง ๆ ถูกต้อง คู่สมรสฝ่ายที่ 2 และเจ้าหน้าที่ที่มีอำนาจจะลงลายเซ็นใบทะเบียนหย่าร้าง (คร. 6) และทำใบสำคัญการหย่า (คร.7)  ให้คู่สมรสทั้ง 2 ฝ่าย

●        สำนักทะเบียนที่ 2 จะส่งใบสำคัญการหย่า (คร.7) ไปยังสำนักทะเบียนที่ 1 เพื่อให้คู่สมรสฝ่ายที่ 1 ได้เก็บไว้ เป็นอันว่าจดทะเบียนหย่าต่างสำนักสมบูรณ์

คำแนะนำเพิ่มเติมสำหรับการหย่าแบบยินยอมทั้งสองฝ่าย

กระบวนการจดทะเบียนหย่าแบบยินยอมทั้งสองฝ่ายจะยิ่งรวดเร็วและสะดวกมากขึ้น หากคู่สมรสร่างข้อตกลงการหย่าร้างเป็นลายลักษณ์อักษรโดยครอบคลุมส่วนที่สำคัญต่าง ๆ ก่อนที่จะเดินทางไปจดทะเบียนหย่า ณ อำเภอ หรือสถานทูต นอกจากนี้ ควรจะตรวจเช็กก่อนด้วยว่า ประเทศของคุณบังคับใช้กฎหมายการหย่าโดยยินยอมทั้งสองฝ่ายหรือไม่ และหากมีการบังคับใช้ คุณควรจะเช็กเสียก่อน เพื่อป้องกันการเสียสิทธิ์และผลประโยชน์ทางกฎหมายที่ตัวเองจะต้องได้รับ

2. การหย่าโดยคำพิพากษาของศาล

แน่นอนว่าในบางกรณีคู่สมรสอาจตกลงกันไม่ได้ และจำเป็นต้องใช้อำนาจศาลในการพิพากษาให้เพิกถอนการสมรส ในกรณีเช่นนี้ คุณจะต้องมีทนายความเพื่อทำหน้าที่ฟ้องหย่าคู่สมรสอีกฝ่าย เมื่อคำพิพากษาถึงที่สุดจึงจะสามารถนำเอกสารการหย่าและหลักฐานไปจดทะเบียนหย่าตามขั้นตอนปกติได้ที่อำเภอ หรือสถานทูตเหมือนขั้นตอนการจดทะเบียนหย่าโดยยินยอมทุกประการ

อย่างไรก็ตาม คุณต้องเข้าใจ ‘เหตุแห่งการฟ้องหย่า’ เสียก่อน เนื่องจากคุณจะต้องใช้เหตุผลที่ได้บัญญัติไว้ตามมาตรา 1516 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ในการฟ้องหย่าเท่านั้น คุณไม่สามารถใช้เหตุผลอื่น เช่น อีกฝ่ายขี้เกียจ ไม่ช่วยทำงานบ้าน หรือไม่สวย ไม่หล่อ มาใช้เป็นเหตุในการฟ้องหย่าได้ ทั้งนี้ เหตุแห่งการฟ้องหย่าสามารถใช้ได้มากกว่า 1 ข้อ

การหย่าโดยคำพิพากษาของศาลใช้เวลาเท่าไหร่?

จากข้อมูลของศาลเยาวชนและครอบครัวกลาง ซึ่งเป็นหน่วยงานผู้รับผิดชอบคดีฟ้องหย่าส่วนใหญ่ในประเทศไทย ระบุว่า เมื่อทนายความยื่นฟ้องต่อศาล ศาลจะนัดพิจารณาคดีครั้งแรกไม่น้อยกว่า 45 วัน หรือประมาณ 2-3 เดือน หรือหลายปี ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ ทั้งนี้ หากทั้งสองฝ่ายยินยอมตามคำสั่งศาล ทุกอย่างอาจเสร็จสิ้นภายในประมาณ 2-3 เดือน แต่หากฝ่ายหนึ่งไม่ยินยอมตามคำสั่งศาลและอยากยื่นอุทธรณ์ อาจใช้เวลาหลายปี

ค่าใช้จ่ายสำหรับการหย่าในประเทศไทยโดยคำสั่งศาลมีอะไรบ้าง ?

คดีฟ้องหย่าจะมีค่าใช้จ่ายหลักคือ ค่าธรรมเนียมศาล ส่วนค่าทนายความนั้นแตกต่างกันไป ค่าธรรมเนียมศาลในกรณีที่เป็นคดีไม่มีการแบ่งสินสมรส ก็จะเสียค่าธรรมเนียมศาลเพียง 200 บาทเท่านั้น และอาจมีค่าธรรมเนียมการส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้กับจำเลย ที่ขึ้นอยู่กับแต่ละศาลจะกำหนดเอง แต่หากมีประเด็นเรื่องการแบ่งสินสมรส ค่าธรรมเนียมศาลก็จะเพิ่มขึ้นตามจำนวนเงินสินสมรสที่ต้องการฟ้องขอแบ่ง ดังนี้ :

  • มูลค่าทรัพย์สินในสมรสไม่เกิน 300,000 บาท: ค่าธรรมเนียมศาลคือ 2% ของจำนวนเงินที่เรียกร้อง แต่ไม่เกิน 1,000 บาท

     

  • มูลค่าทรัพย์สินในสมรสเกิน 300,000 บาท: ค่าธรรมเนียมศาลคือ 2% ของจำนวนเงินที่เรียกร้อง แต่ไม่เกิน 200,000 บาท

     

สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อศาลเยาวชนและครอบครัวกลางใกล้บ้านคุณ

เมื่อคำพิพากษาถึงที่สุดแล้ว ซึ่งรวมถึงการตัดสินใจเกี่ยวกับการหย่า การแบ่งทรัพย์สินสมรส การเลี้ยงดูบุตร และปัญหาอื่น ๆ ทั้งสองฝ่ายต้องนำคำสั่งศาลและหนังสือรับรองคดีถึงที่สุดไปจดทะเบียนหย่า ณ อำเภอ สำนักงานเขตใกล้บ้าน หรือสถานทูต/สถานกงสุล ซึ่งขั้นตอนต่าง ๆ ก็จะเหมือนการจดทะเบียนหย่าโดยยินยอม ที่คุณสามารถเลือกได้ว่าจะไปที่สำนักทะเบียนเดียวกันหรือต่างกัน ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ของคุณ

เอกสารที่ต้องใช้ในการจดทะเบียนหย่าโดยคำพิพากษาของศาล  :

  • ใบสำคัญสมรส (คร. 3)
  • Passport / บัตรประจำตัวประชาชน
  • ทะเบียนบ้าน (สำหรับคนไทย)
  • สูติบัตรของบุตร (หากทั้งสองฝ่ายมีบุตรร่วมกัน)
  • คำสั่งศาลและหนังสือรับรองคดีถึงที่สุด
  • พยานอย่างน้อยสองคนที่มีอายุเกิน 20 ปี

     

ขั้นตอนการจดทะเบียนหย่าโดยคำพิพากษาของศาลที่สำนักทะเบียนเดียวกัน

  • เจ้าหน้าอำเภอจะตรวจสอบคำขอหย่า ตรวจสอบเอกสารยืนยันตัวตนขอคู่สมรส และตรวจสอบสำเนาคำสั่งศาลและใบรับรองคดีถึงที่สุด

     

  • เมื่อเอกสารต่าง ๆ ถูกต้อง เจ้าหน้าอำเภอจะบันทึกรายละเอียดการหย่าในใบทะเบียนหย่า (คร. 6) รวมถึงข้อมูลเกี่ยวกับศาล หมายเลขคดี วันที่ของคำพิพากษา และข้อสำคัญของคำพิพากษา

     

  • เจ้าหน้าอำเภอจะส่งเอกสารทั้งหมดไปยังนายอำเภอเพื่อพิจารณา และลงลายเซ็นในใบสำคัญการหย่า (คร. 7) และให้ทั้งสองฝ่ายเก็บไว้ เป็นอันหย่าเสร็จสมบูรณ์


แน่นอนว่าคุณสามารถยื่นฟ้องหย่าสามีหรือภรรยาที่อยู่อาศัยอยู่ต่างประเทศได้ โดยกระบวนการฟ้องหย่าจะเหมือนกับการจดทะเบียนหย่าต่างสำนักทะเบียนกัน หลังจากที่คุณมีทนายความและยื่นฟ้องหย่าต่อศาลแล้ว คำร้องขอหย่าและหมายเรียกจะถูกส่งไปยังที่อยู่ในประเทศของคู่สมรสอีกฝ่ายผ่านกระบวนการพิเศษของศาล นอกจากนี้ เอกสารต้องได้รับการแปลเป็นภาษาของฝ่ายที่เรายื่นฟ้องอีกด้วย

การฟ้องหย่านั้นไม่มีค่าใช้จ่าย จะมีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมประมาณ 5,000 บาท สำหรับการแปลและการส่งเอกสารไปต่างประเทศ และกระบวนการฟ้องหย่าอาจใช้เวลานานกว่าปกติ 1-2 เดือน

ทางเลือกอื่นก่อนตัดสินใจหย่า

การหย่าไม่ได้ส่งผลกระทบต่อผู้ที่จะหย่าเท่านั้น แต่ยังส่งผลกระทบต่อทุกคนในครอบครัวอีกด้วย ดังนั้น ก่อนที่คุณจะตัดสินใจในสิ่งที่จะส่งผลกระทบต่อคนมากมายเช่นนี้ คุณควรจะมองหาวิธีเข้าใจปัญหาชีวิตคู่ที่คุณกำลังเผชิญอยู่ให้ดีเสียก่อน เพราะด้วยวิธีนี้ คุณอาจจะพบหนทางที่จะทำให้ชีวิตคู่ดีขึ้น โดยที่ไม่ต้องลงเอยด้วยการหย่าก็ได้

สำหรับทางเลือกอื่นที่จะทำให้คุณได้ใช้เวลา ทำความเข้าใจปัญหาชีวิตคู่ได้ :

  1. แยกกันอยู่ชั่วคราว : วิธีแยกกันอยู่จะช่วยให้คู่สมรสที่เดิมทีต้องการหย่ากัน ได้มีเวลาอยู่กับตัวเอง มีเวลาทบทวนสิ่งต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น ซึ่งอาจนำมาซึ่งข้อสรุปที่ไม่ต้องลงเอยด้วยการหย่าร้าง แต่เป็นการตกลงร่วมที่จะปรับตัวเข้าหากันใหม่อีกครั้ง
  1. ขอรับคำปรึกษาชีวิตคู่ : การเข้ารับคำปรึกษาบำบัดปัญหาชีวิตคู่เป็นการได้สำรวจปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในความสัมพันธ์การแต่งงาน นักจิตบำบัดจะช่วยให้คู่สมรสที่ต้องการหย่าได้พูดคุยถึงสิ่งที่เป็นปัญหา และทำให้ทั้งคู่เข้าใจมุมมองของกันและกัน จนสามารถหาจุดตรงกลางที่ทั้งสองสบายใจได้ พร้อมแนะนำวิธีการสื่อสารที่ดีขึ้น ซึ่งการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพจะทำให้ความสัมพันธ์ดีขึ้น
  1. การไกล่เกลี่ย : ใช้บริการไกล่เกลี่ยกับสำนักงานกฎหมายหรือที่ปรึกษาทางกฎหมายที่มีชื่อเสียง เพื่อแก้ไขความขัดแย้งที่เกิดขึ้นโดยคนกลางอาจสามารถทำให้ทั้งคู่ได้ข้อตกลงในประเด็นที่ตกลงกันไม่ได้ ทั้งนี้เมื่อไกล่เกลี่ยกันได้แล้ว การหย่าร้างที่จะสร้างผลกระทบมากกว่าก็อาจไม่จำเป็นอีกต่อไป

การรับมือกับอารมณ์เมื่อต้องหย่าร้าง

การหย่าไม่แค่เรื่องของเอกสารและไม่ได้จบลงทันที หลังจากคุณที่ได้ใบสำคัญการหย่า การหย่าร้างอาจทิ้งให้คุณจมอยู่กับห้วงอารมณ์ที่รุนแรงมากกว่าความเครียดประจำวัน หากคุณไม่รู้วิธีรับมือตั้งแต่เนิ่น ๆ มันสามารถทำลายคุณภาพชีวิตและคนรอบข้างของคุณได้โดยเฉพาะกับลูก ๆ ของคุณเอง

คุณอาจเจอกับความเศร้าสาหัส น้ำหนักตัวลดลงหรือกระทั่งรู้สึกได้ว่าลูก ๆ ปฏิบัติตัวกับคุณต่างไปจากเดิม หากความรู้สึกต่าง ๆ เหล่านี้ไม่ได้รับการแก้ไขในเวลาที่เหมาะสม มันอาจนำไปสู่ชีวิตที่ไม่มีความสุขและทำลายความสัมพันธ์ที่ดีในความครัวได้ ดังนั้น คุณควรจะยอมรับความรู้สึกที่มันเกิดขึ้นแล้ว และขอความช่วยเหลือ

ความเศร้าที่เกิดจากการหย่าเป็นเรื่องธรรมชาติที่เกิดขึ้นได้กับทุกคน คุณต้องอนุญาตให้ตัวเองได้รู้สึกอย่างที่ตัวเองรู้สึก เพื่อปลดปล่อยอดีต เตรียมพร้อมไปสู่อนาคตที่คุณวางไว้ คุณอาจจะต้องพึ่งพาเพื่อน ๆ หรือครอบครัวของคุณ คนที่คุณสามารถพูดคุยกับพวกเขาได้อย่างสบายใจและไม่ตัดสิน แต่ถ้าจะให้ดี คุณควรที่จะขอความช่วยเหลือจากผู้เชี่ยวชาญเช่น นักจิตบำบัด เพื่อคุณจะได้รับคำแนะนำที่เป็นประโยชน์ในการรับมือกับความเศร้าที่เกิดขึ้นหลังการหย่า 

และสุดท้าย คุณต้องโฟกัสที่ตัวคุณเองว่าการหย่าครั้งนี้จะเป็นส่วนหนึ่งที่จะทำให้คุณเติบโตขึ้นเป็นคนที่ดีกว่าเดิม คุณอาจจะลองตั้งเป้าหมายใหม่ ๆ กลับไปทำสิ่งที่คุณอยากทำแต่ยังไม่ได้ทำสักที และวางแผนชีวิตของคุณในอนาคต การเดินทางไปข้างหน้าด้วยความมั่นใจ และเพื่อที่จะสัมผัสความสุขอีกครั้งเริ่มต้นได้ด้วยก้าวเล็ก ๆ เช่น การขอคำปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญ ที่จะช่วยให้คุณพบเส้นทางของตัวเองได้ในช่วงที่สับสนเช่นนี้เพื่อที่จะได้เริ่มต้นใหม่ได้เร็วยิ่งขึ้น

การจดทะเบียนหย่าในประเทศไทย

Counselling Thailand เป็นสถานที่ให้คำบริการและให้การบำบัดที่น่าเชื่อถือ  เรามีสาขาอยู่ทั่วประเทศไทยตั้งแต่ปี 2018 ทีมงานให้คำปรึกษาของเรามีประสบการณ์ในการให้คำปรึกษาทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ด้วยความเชี่ยวชาญหลากหลายโดยเฉพาะ การให้คำปรึกษาส่วนบุคคล การให้คำปรึกษาชีวิตคู่และการบำบัดคู่สมรส การบำบัดสำหรับเด็ก วัยรุ่น และครอบครัว

 

นอกเหนือจากการทำงานกับคู่รักที่มีสัญชาติและมาจากวัฒนธรรมเดียวกันแล้ว เรายังมีความเชี่ยวชาญในการทำงานกับคู่รักคนไทยกับคนตะวันตกที่ต่างวัฒนธรรม ต่างภาษากัน ทำให้เราสามารถให้คำปรึกษาได้ตรงจุด จากพื้นฐานของความเข้าใจบนความแตกต่างกันของสองวัฒนธรรม คุณสามารถดูข้อมูลเพิ่มเติม ด้วยการเข้าไปเยี่ยมชมจากเว็บไซต์ของเราได้เพจ การบำบัดความสัมพันธ์ไทย-ตะวันตก

นอกจากนี้ เรายังให้คำปรึกษากับคู่รักต่างเพศ และคู่สมรสที่เป็นชายหญิง ทั้งในกรุงเทพฯ และเชียงใหม่ รวมถึงผู้ที่มีความหลากหลายทางเพศที่เรามีประสบการณ์ในการให้คำปรึกษาไปแล้วหลายคู่ คุณสามารถขอข้อมูลเพิ่มเติม รวมทั้งข้อมูลค่าบริการเกี่ยวกับการให้คำปรึกษาทั้งเข้าพบนักบำบัดหรือทำผ่านออนไลน์ ได้ที่ LGBTQ+ 

และหากคุณสนใจอยากนัดหมาย หรือขอทราบค่าบริการในการขอรับคำปรึกษาไม่ว่าจะเป็นการขอรับคำปรึกษาแบบตัวต่อตัว หรือแบบออนไลน์ สามารถเข้าไปตรวจสอบและทำการนัดหมายได้ทันที ค่าบริการและทำการนัดหมาย 

ทดลองขอรับคำปรึกษาฟรี ก่อนที่จะทำการนัดหมายทำได้ไหม ? 

  • บริการฟรี รับคำปรึกษาส่วนตัวผ่าน Zoom เป็นเวลา 15 นาที
  • บริการฟรี รับคำปรึกษาสำหรับคู่รักและครอบครัวผ่าน Zoom เป็นเวลา 30 นาที

เราพร้อมที่จะรับฟังคุณ และพูดคุยกันถึงสิ่งที่คุณกำลังเผชิญอยู่ โดยเฉพาะช่วยคุณตอบคำถามที่สงสัย และหากคุณสนใจอยากเข้ารับคำปรึกษาต่อ เราก็พร้อมดูแลคุณในการเข้ารับคำปรึกษาเป็นครั้งแรก หากมีข้อมูลที่ต้องการเพิ่มเติมโปรดติดต่อเรา หรือ กรอกแบบฟอร์มข้อมูลของลูกค้า ซึ่งข้อมูลในแบบฟอร์มนี้จะช่วยให้เราเลือกวิธีการบำบัดที่จะช่วยคุณได้ตรงจุดมากขึ้น แล้วเราจะติดต่อคุณกลับผ่านทางอีเมล์พร้อมตารางเวลานัดหมายเพื่อเข้ามารับคำปรึกษาฟรีต่อไป 

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *