เช็คลิสต์ อาการเสพติดโซเชียลมีเดีย พร้อมแนวทางป้องกันภาวะซึมเศร้า

เช็คลิสต์ อาการเสพติดโซเชียลมีเดีย พร้อมแนวทางป้องกันภาวะซึมเศร้า ในยุคที่เทคโนโลยีและการเชื่อมต่อทางดิจิทัลเป็นสิ่งสำคัญในชีวิตประจำวัน การใช้โซเชียลมีเดียกลายเป็นพฤติกรรมที่คนส่วนใหญ่ทำเป็นประจำทุกวัน ไม่ว่าจะเป็นการเช็คข่าวสาร การติดตามคนรู้จัก หรือแม้กระทั่งการอัปเดตชีวิตของตนเองผ่านโพสต์หรือสตอรี่ โซเชียลมีเดียจึงเป็นเครื่องมือที่มีประโยชน์ในการสื่อสารและเชื่อมโยงผู้คนเข้าด้วยกัน แต่เมื่อการใช้งานที่มากเกินความพอดี อาจก่อให้เกิดปัญหาทางจิตใจและร่างกายที่เรียกว่า “การเสพติดโซเชียลมีเดีย” หรือ Social Addiction บทความนี้จะพาทุกคนไปรู้จักกับอาการ สาเหตุ ประเภทของการติดโซเชียล และวิธีการป้องกัน รวมถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการใช้โซเชียลมีเดียมากเกินไป เช่น ภาวะซึมเศร้าจากเฟซบุ๊ก หรือ Facebook Depression 1. อาการเสพติดโซเชียลมีเดีย หรือ Social Media Addiction การเสพติดโซเชียลมีเดียเป็นอาการที่ผู้ใช้ไม่สามารถควบคุมการใช้งานโซเชียลได้ ต้องเช็คโทรศัพท์ตลอดเวลา ไม่ว่าจะเป็นในช่วงเวลาทำงาน พักผ่อน หรือแม้กระทั่งก่อนนอน การเสพติดโซเชียลไม่ใช่แค่การเลื่อนฟีดเท่านั้น แต่ยังรวมถึงการติดตามการตอบกลับของโพสต์ หรือการตรวจสอบว่าโพสต์ได้รับไลค์หรือคอมเมนต์มากน้อยเพียงใด ซึ่งอาการเหล่านี้หนึ่งในสาเหตุหลักคือ ความต้องการการยอมรับจากสังคม เพราะการที่ได้รับไลค์ คอมเมนต์ หรือแชร์โพสต์ ทำให้รู้สึกถึงการได้รับการยอมรับและถูกให้ความสำคัญในสังคมออนไลน์ ความรู้สึกนี้กระตุ้นการหลั่งของสารเคมีที่ชื่อว่า โดพามีน ซึ่งเป็นสารที่ทำให้ตัวเองรู้สึกดี  เมื่อโดพามีนถูกหลั่งออกมาจากสมอง จะทำให้เกิดความสุข และผ่อนคลาย นอกจากนี้ยังมีสาเหตุอื่นๆ ที่อาจจะทำให้เกิดภาวะการติดเสพติดโซเชียล ไม่ว่าจะเป็น การเห็นชีวิตที่ดูสมบูรณ์แบบของคนอื่นผ่านโซเชียล […]