เช็คลิสต์ อาการเสพติดโซเชียลมีเดีย พร้อมแนวทางป้องกันภาวะซึมเศร้า

ในยุคที่เทคโนโลยีและการเชื่อมต่อทางดิจิทัลเป็นสิ่งสำคัญในชีวิตประจำวัน การใช้โซเชียลมีเดียกลายเป็นพฤติกรรมที่คนส่วนใหญ่ทำเป็นประจำทุกวัน ไม่ว่าจะเป็นการเช็คข่าวสาร การติดตามคนรู้จัก หรือแม้กระทั่งการอัปเดตชีวิตของตนเองผ่านโพสต์หรือสตอรี่ โซเชียลมีเดียจึงเป็นเครื่องมือที่มีประโยชน์ในการสื่อสารและเชื่อมโยงผู้คนเข้าด้วยกัน แต่เมื่อการใช้งานที่มากเกินความพอดี อาจก่อให้เกิดปัญหาทางจิตใจและร่างกายที่เรียกว่า “การเสพติดโซเชียลมีเดีย” หรือ Social Addiction 

บทความนี้จะพาทุกคนไปรู้จักกับอาการ สาเหตุ ประเภทของการติดโซเชียล และวิธีการป้องกัน รวมถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการใช้โซเชียลมีเดียมากเกินไป เช่น ภาวะซึมเศร้าจากเฟซบุ๊ก หรือ Facebook Depression 

1. อาการเสพติดโซเชียลมีเดีย หรือ Social Media Addiction

การเสพติดโซเชียลมีเดียเป็นอาการที่ผู้ใช้ไม่สามารถควบคุมการใช้งานโซเชียลได้ ต้องเช็คโทรศัพท์ตลอดเวลา ไม่ว่าจะเป็นในช่วงเวลาทำงาน พักผ่อน หรือแม้กระทั่งก่อนนอน การเสพติดโซเชียลไม่ใช่แค่การเลื่อนฟีดเท่านั้น แต่ยังรวมถึงการติดตามการตอบกลับของโพสต์ หรือการตรวจสอบว่าโพสต์ได้รับไลค์หรือคอมเมนต์มากน้อยเพียงใด ซึ่งอาการเหล่านี้หนึ่งในสาเหตุหลักคือ ความต้องการการยอมรับจากสังคม เพราะการที่ได้รับไลค์ คอมเมนต์ หรือแชร์โพสต์ ทำให้รู้สึกถึงการได้รับการยอมรับและถูกให้ความสำคัญในสังคมออนไลน์ ความรู้สึกนี้กระตุ้นการหลั่งของสารเคมีที่ชื่อว่า โดพามีน ซึ่งเป็นสารที่ทำให้ตัวเองรู้สึกดี  เมื่อโดพามีนถูกหลั่งออกมาจากสมอง จะทำให้เกิดความสุข และผ่อนคลาย

นอกจากนี้ยังมีสาเหตุอื่นๆ ที่อาจจะทำให้เกิดภาวะการติดเสพติดโซเชียล ไม่ว่าจะเป็น การเห็นชีวิตที่ดูสมบูรณ์แบบของคนอื่นผ่านโซเชียล ทำให้เรารู้สึกไม่พอใจกับชีวิตของตัวเองและพยายามสร้างภาพลักษณ์ชีวิตที่ดีขึ้นในโลกออนไลน์ และความสะดวกสบายที่สมาร์ทโฟนและแท็บเล็ตที่สามารถเชื่อมต่อกับโซเชียลมีเดียได้ตลอดเวลาอีกด้วย

2. อาการที่พบบ่อยจากการใช้โซเชียลมีเดียมากเกินไป

  • โนโมโฟเบีย (Nomophobia) ย่อมาจาก “no mobile phone phobia” คือ ความกลัวหรือความกังวลที่จะไม่ได้ใช้โทรศัพท์มือถือ

  • ภาวะซึมเศร้าจากเฟซบุ๊ก (Facebook Depression) เกิดขึ้นเมื่อผู้ใช้รู้สึกเศร้าหรือไม่พอใจจากการเปรียบเทียบชีวิตกับคนอื่นในโซเชียลมีเดีย  ทำให้รู้สึกว่าชีวิตตัวเองดูด้อยค่ากว่าคนอื่น

  • สมาร์ทโฟนเฟซ (Smartphone Face) คือ การเปลี่ยนแปลงของท่าทางใบหน้าในลักษณะการเกร็ง จากการใช้งานสมาร์ทโฟนเป็นเวลานาน

  • Text Neck Syndrome เกิดจากการก้มคอเพื่อดูหน้าจอโทรศัพท์หรืออุปกรณ์อื่น ๆ ทำให้เกิดอาการปวดที่คอและหลังส่วนบน ซึ่งส่งผลต่อสุขภาพในระยะยาว

  • วุ้นในตาเสื่อม (Eye Floaters) เกิดจากโปรตีนในวุ้นตาแตกตัว ทำให้ผู้ที่มีอาการมักจะเห็นจุดหรือเส้นลอยในสายตา

  • ละเมอแชท (Sleep Texting) คือ การส่งข้อความขณะหลับ ซึ่งมักเกิดขึ้นในช่วง REM (Rapid Eye Movement) เป็นช่วงที่สมองมีการทำงานสูง แม้ว่าจะไม่ตื่นตัว  
เช็คลิสต์ อาการเสพติดโซเชียลมีเดีย พร้อมแนวทางป้องกันภาวะซึมเศร้า

3. วิธีการป้องกันการเสพติดโซเชียลมีเดีย

1. ตั้งเวลาการใช้งาน

กำหนดเวลาที่ชัดเจนในการใช้โซเชียลมีเดียทุกวัน ช่วยให้เราควบคุมการใช้งานไม่ให้มากเกินไป

2. ลบแอปพลิเคชันที่ไม่จำเป็น

ลบแอปที่ไม่ใช้บ่อย ๆ และปิดการแจ้งเตือนที่ไม่สำคัญ ช่วยลดความต้องการในการเปิดดูโซเชียล

3. ออกกำลังกายและทำงานอดิเรก

การออกกำลังกายหรือเล่นกีฬาไม่เพียงแต่ช่วยให้เรารู้สึกดี แต่ยังเป็นการเบี่ยงเบนความสนใจจากโซเชียลมีเดีย เช่น การอ่านหนังสือหรือการเรียนรู้ทักษะใหม่ ๆ

สร้างสภาพแวดล้อมที่ไม่เอื้อให้ใช้โซเชียล

ไม่ว่าจะเป็นการวางโทรศัพท์ให้ห่างเมื่อทำงานหรือรับประทานอาหาร หรือการเปิดโหมดห้ามรบกวนขณะทำกิจกรรมสำคัญ จะช่วยเพิ่มสมาธิและลดการใช้โซเชียลมีเดียในชีวิตประจำวัน

เช็คลิสต์ อาการเสพติดโซเชียลมีเดีย พร้อมแนวทางป้องกันภาวะซึมเศร้า

นักจิตบำบัดช่วยได้อย่างไร

นักจิตบำบัดสามารถช่วยผู้ที่ติดโซเชียลมีเดียได้โดยการใช้เทคนิคการให้คำปรึกษา ที่มุ่งเน้นการแก้ไขพฤติกรรมและความคิดที่เกิดจากการใช้งานโซเชียลมีเดียมากเกินไป ซึ่งรวมถึงการบำบัดพฤติกรรมและความคิด (CBT) ช่วยให้คุณเรียนรู้ระบุความคิดและพฤติกรรมที่เป็นต้นเหตุของการติดโซเชียล เช่น ความกลัวที่จะพลาดข้อมูล และความต้องการการยอมรับผ่านการกดไลค์ นักจิตบำบัดจะช่วยปรับเปลี่ยนความคิดเหล่านี้และแนะนำวิธีจัดการกับความเครียดหรือความกังวล นอกจากนี้จะช่วยพัฒนาทักษะการจัดการเวลาและตั้งเป้าหมายในการลดเวลาการใช้งานโซเชียลอีกด้วย

การเสพติดโซเชียลมีเดียได้กลายเป็นปัญหาที่พบเห็นได้ทั่วไปในสังคมยุคดิจิทัล เนื่องจากเทคโนโลยีและแอปพลิเคชันโซเชียลมีเดียมีความสำคัญและกลายเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวันของผู้คน ไม่ว่าจะเป็นการสื่อสาร การทำงาน หรือการหาความบันเทิง การใช้งานโซเชียลมีเดียมากเกินไปอาจส่งผลเสียต่อสุขภาพกายและจิตใจ

อย่างไรก็ตาม ปัญหาการเสพติดโซเชียลมีเดียสามารถป้องกันและแก้ไขได้ หากเรามีการจัดการเวลาและกิจกรรมอย่างเหมาะสม การรู้ถึงสาเหตุ อาการ และผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการใช้งานโซเชียลมีเดียจะช่วยให้เราสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมได้อย่างมีประสิทธิภาพ 

 

หากสงสัยว่าตัวเองอาจจะมีอาการติดโซเชียล หรือมีแนวโน้มมีพฤติกรรมดังกล่าว ทาง Counselling Thailand เรามีการปรึกษาฟรี 15 นาทีสำหรับรายบุคคล และ 30 นาทีสำหรับคู่รักและครอบครัว คุณสามารถกรอกแบบฟอร์มออนไลน์เพื่อให้เราเลือกนักจิตบำบัดที่เหมาะสมที่สุดสำหรับคุณ จากนั้นเราจะส่งอีเมลถึงคุณพร้อมวันและเวลาให้เลือกเข้ารับการปรึกษา

ในการปรึกษา เราจะพูดคุยเกี่ยวกับปัญหาของคุณและตรวจสอบว่าหลักการของเราสอดคล้องกับความต้องการของคุณหรือไม่ นอกจากนี้ คุณยังสามารถถามคำถามหรือข้อกังวลต่าง ๆ ที่มีได้ หากคุณตัดสินใจดำเนินการต่อ สามารถตกลงกับนักจิตบำบัดได้ทันที

เพื่อช่วยคุณ หากคุณมีคำถามเพิ่มเติมก่อนการจอง สามารถเยี่ยมชมหน้า ‘คำถามที่พบบ่อย’ หรือกรอกคำถามในแบบฟอร์มออนไลน์ได้เลย